หน้าหลัก > สาระน่ารู้ > สาระน่ารู้เรื่องพลาสติก
สาระน่ารู้เรื่องพลาสติก
สาระน่ารู้เรื่องพลาสติก
16 Mar, 2019 / By thaipackag
Images/Blog/ffyhQv62-5.เม็ดพลาสติกมีกี่ประเภท.png

พลาสติกที่นิยมใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยได้แก่

  1. PE (Polyethylene)
  2. PP (Polypropylene)
  3. PVC (Polyvinylchloride : U)
  4. PS (Polystyrene)
  5. PET (Polyethylene terephalate)
  6. กลุ่ม PVDC (Polyvinylidene chloride),P.A (Polyamide), lonomer, EVOH (Ethylene Vinylalcohol copolymer) พลาสติกในกลุ่มนี้ไม่นิยมเป็นพลาสติกเดี่ยว นิยมใช้เคลือบกับวัสดุชนิดอื่น เช่น Al , กระดาษ

PE (POLYETHYLENE)

โพลิเอทิลินเป็นพลาสติกที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับเป็นบรรจุภัณฑ์ นิยมผลิตเป็นถุง, ฟิล์ม ขวด และเครื่องใช้ในครัวเรือน พลาสติกในกลุ่มนี้แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

  1. LDPE (Low density polyethylene) นิยมผลิตเป็นถุง ฟิล์มหด (Shink film) และฟิล์มยืด (Stretch film) หรือใช้เคลือบกับวัสดุภัณฑ์ชนิดอื่น เพื่อช่วยในการปิดผนึกและป้องกันไอน้ำ
  2. HDPE (High density polyethylene) นิยมผลิตเป็นขวด ถาด เครื่องใช้ในครัวเรือน เพราะเป็นพลาสติกที่มีความคงรูปได้ดีกว่า LDPE หรือใช้เคลือบกับวัสดุภัณฑ์อื่น เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และช่วยในการปิดผนึก

การใข้งาน : สามารถใช้บรรจุผลิตภัณฑ์อาหารที่มีต่อการซึมผ่านเข้าออกของก๊าซ เช่น ผักผลไม้สด (LDPE) เพราะ LDPE
ยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าออกได้ ป้องกันความชื้น ได้ดี เหมาะสมกับอาหาร หรืออุตสาหกรรมทั่วไปที่ไม่ต้องการความชื้น ไม่เมาะสมสำหรับบรรจุของเหลวที่มีส่วนผสมของตัวทำละลาย (solent)

PP (POLYPROPYLENE)

โพลิโพรพิลินเป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ PE แต่มีความทนทานต่อความร้อนได้สูงถึง 120º C (ในขณะที่ LDPE ทนร้อนได้ 80º C) ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี มีความทนทานต่อสารเคมี ตัวทำละลาย วิธีการผลิตฟิล์มทำให้เกิดฟิล์ม 2 ชนิด คือ

OPP (oriented polypropylene) และ CPP (cast polypropylene) 

การใช้งาน : สามารถใช้บรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าอุตสาหกรรมทุกชนิด ไม่เหมาะสมกับอาหารสดจำพวกผักผลไม้ เพราะอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำ ใช้บรรจุอาหารร้อนได้
(CPP) นิยมเรียกว่า ถุงร้อน

PVC (POLYVINYLCHLORIDE : U)

เป็นพลาสติกที่สามารถทำให้มีความยืดหยุ่น และปรับปรุงแต่งคุณสมบัติของพลาสติกได้มาก ดังนั้น จึงก่อให้เกิดปัญหาในการใช้งานกับอาหาร เนื่องจากสารที่เติม (plasticizer) หรือ สรตั้งต้น (monomer) สามารถหลุด (migrate) ออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้

การใช้งาน : เพื่อผลิตเป็นฟิล์มใช้ห่อผักผลไม้ เพราะยอมให้ไอน้ำซึมผ่านได้ดี และยอมให้ก๊าซออกซิเจนเข้าออกได้ดี ไม่เหมาะที่จะใช้อุณหภูมิสูงเกิน 80º C

PS (POLYSTYRENE)

โพลิสไตรีนเป็นพลาสติกที่นิยมใช้มากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นฟิล์มที่มีความใส มีวามมันวาวและเหนียว ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ต่ำ และมีความคงรูปดี จึงเหมาะสำหรับการผลิตด้วยเครื่องจักรที่มีความเร็วสูง

การใช้งาน : ใช้ห่อ หรือทำถุงบรรจุผลิตผลเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ ไม้ตัดดอก เพราะก๊าซและไอ้น้ำเข้า-ออกได้ดี และนิยมทำเป็นหน้าต่างของกล่องกระดาษแข็ง เพื่อให้สามารถมองเห็นสินค้าได้ดี เนื่องจากสามารถเคลือบด้วยไอของอะลูมิเนียม (metallizing) ได้ดี จึงนิยมทำเป็นถุงสำหรับบรรจุอาหารสำเร็จรูป ทำให้สามารถคงรูปได้ดี

PET (POLYETHYLENE TEREPHALATE)

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติในด้านป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำที่มี ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีมาก และป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ดี มีความใสและควมเหนียวสูง สามารถใช้เคลือบกับ ไอของอะลูมิเนียมได้ จึงนิยมผลิตเป็นถุงที่ต้องการใช้อุณหภูมิสูง

การใช้งาน : ได้รับความนิยมมากในการผลิตเป็นขวดสำหรับบรรจุของเหลว เช่น เครื่องดื่ม น้ำดื่ม และน้ำมัน นอกจากนี้ยังใช้เคลือบกับวัสดุอื่น ผลิตเป็นถุงสำหรับใช้ต้ม, นิ่งฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูง

พลาสติกประกบ (IAMINATED PLASTIC SLIM)

เป็นฟิล์มพลาสติกมากกว่าหนึ่งชนิดที่นำมาประกบกัน (Iamination) หรือ นำพลาสติกไปประกบกับวัสดุอื่น เช่น กระดาษ แผ่นเปลวอะลูมิเนียม
ข้อดี  : เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของวัสดุภัณฑ์ให้มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้มากยิ่งขึ้น เพราะพลาสติกแต่ละชนิดจะมีข้อดีต่างกัน
ข้อเสีย : พลาสติกกลุ่มนี้ก่อให้เกิดปัญหาในการนำพลาสติกกลับมาแปรรูปใหม่ เพราะไม่สามารถแยกพลาสติกแต่ละชนิดออกจากกันได้

จุดเด่นของพลาสติกแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำเป็นฟิล์มประกบ หรือรีดร่วมกัน

  • HA = วัสดุเชื่อมประสาน
  • PP = ป้องกันความชื้นได้ดี
  • LDPE = ปิดผนึก
  • EVIH = ป้องกันกลิ่นและออกซิเจนได้ดี
  • PET = ป้องกันไอน้ำ และก๊าซดีมาก
  • PVDC = พิมพ์ได้ง่าย
  • PS = มีความใส
  • Lonomer = ป้องกันการซึมผ่านของไขมัน
  • CPP = ทนความร้อน
  • PA = มีความเหนียว และป้องกันการซึมผ่านก๊าซดี

 

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ หัวข้อ Plastic

 

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป